หลายๆคนอาจจะเคยได้ยิน IQ (Intelligence Quotient) และ EQ (Emotional Quotient) จากหลายแหล่งความรู้มาบ้าง และได้รู้จักถึงความสำคัญที่ช่วยพัฒนาเด็กๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นอกจาก IQ และ EQ ยังมีทักษะอื่นๆมาให้ผู้ปกครองทำความรู้จัก และสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อช่วยพัฒนาลูกน้อยได้อย่างรอบด้านมากยิ่งขึ้น
1. IQ (Intelligence Quotient)
IQ หรือ ความฉลาดทางด้านสติปัญญา ถือเป็นทักษะพื้นฐานที่ทั่วโลกให้การยอมรับ ในการวัดระดับของ IQ เมื่อเทียบกับอายุในคนปกติจะอยู่ที่ 90-110
นักวิทยาศาสตร์อย่างสตีเฟน ฮอว์คิงและอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ต่างก็มีคะแนนไอคิวอยู่ที่ 160 ซึ่งกล่าวกันว่ามีเพียงสองเปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกเท่านั้น
สิ่งแวดล้อมและการฝึกฝน สามารถพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะ IQ ให้สูงขึ้นได้ และยังรวมถึงอาหารการกินที่มีประโยชน์ เช่น อาหารที่ครบ 5 หมู่ ปลา ถั่วเหลือง อาหารที่มีธาตุเหล็ก วิตามินต่าง ๆ นอกจากนี้ประสบการณ์และการฝึกฝนความคิดยังช่วยพัฒนา IQ ได้อีกด้วย
2. EQ (Emotional Quotient)
EQ หรือ ความฉลาดทางด้านอารมณ์ คือความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เข้าอกเข้าใจผู้อื่น และสามารถระงับอารมณ์โกรธของตนเองได้ในสถานะการณ์ต่างๆ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจหรือปลอบประโลมผู้อื่นเป็น มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
EQ นับเป็นทักษะสำคัญในการอยู่ร่วมภายในสังคม ควรได้รับการฝึกฝนตั้งแต่ยังเด็ก โดยปลูกฝั่งให้เด็กๆ คิดในแง่ดี จิตใจเบิกบาน ไม่หมกมุ่นกับสิ่งที่บั่นทอนจิตใจ
3. SQ (Social Quotient)
SQ หรือ ความฉลาดในการเข้าสังคม คือทักษะที่ดีในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทักษะนี้สามารถฝึกฝนได้ตั้งแต่ยังเล็ก การรับฟังและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นจะใช้ให้เด็กๆพัฒนาทักษะด้านนี้ได้ดียิ่งขึ้น
โดยทักษะ SQ นั้นจะทำให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เข้าใจที่มาที่ไปของการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ยอมรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ และสามารถปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมีความสุข
4. CQ (Creativity Quotient)
CQ หรือ ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ คือ ความคิดริเริ่ม ความคิดแปลกใหม่ ความคิดยืดหยุ่น ความคิดละเอียดละออ และความฉับไวคล่องแคล่ว ในการคิด และเป็นสิ่งที่พัฒนาได้
CQ นั้นถือเป็นทักษะสำคัญในยุคนี้และอนาคต เนื่องจากปัจจุบันมีเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากร่วมถึง AI ที่เริ่มเข้ามาทำงานแทนที่ของมนุษย์ แต่ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์นั้นถือเป็นทักษะที่ยากสำหรับหุ่นยนต์ ทำให้ยังคงต้องอาศัยมนุษย์ใรการทำงานส่วนนี้
ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กโดยผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ทางศิลปะ ดนตรี ฯลฯ เป็นการวางพื้นฐานสำหรับตัวเด็กที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต ให้เป็นผู้มีความคิดฉับไวในการแก้ปัญหา เป็นคนช่างสังเกต และมีแนวความคิดกว้างขวางหลากหลาย ไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบเดิมๆ
5. AQ (Adaptability Quotient)
AQ หรือ ความฉลาดในการปรับตัว ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยี แล้วแนวคิดในสังคมนั้นหลากหลาย และมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทักษะการปรับตัวจึงถือเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งในการใช้ชีวิต
ผู้ปกครองสามารถเริ่มปลูกฝังทักษะในการปรับตัวให้แก่เด็กๆได้ สามารถเริ่มสอนให้เด็กๆรู้จักกล้าทดลองสิ่งใหม่ รักในการเรียนรู้จากหลากหลายแหล่งความรู้ ร่วมถึงยอมรับเมื่อเกิดความผิดพลาดและมองหาหนทางแก้ปัญหา รู้จักมองทุกอย่างในมุมกว้างจะสามารถเข้าใจและปรับตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
จะเห็นว่า 5Q ที่ได้กล่าวมานั้นถือเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต หากเด็กๆสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ตั้งแต่ตอนนี้ก็จะมีความพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ทั้งการเรียน การสอบ การทำงาน หรือแม้แต่การใช้ชีวิตในแต่ละวัน
หมากล้อมเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนาเด็กๆได้ทั้ง 5 ทักษะ
IQ หรือ ความฉลาดทางด้านสติปัญญา การเกิดฝึกฝนการเล่นที่ซับซ้อน และฝึกการคิดในหลากหลายมิติ
EQ หรือ ความฉลาดทางด้านอารมณ์ ในขณะเล่นหมากล้อมผู้เล่นจำเป็นต้องฝึกควบคุมอารมณ์ และพยายามเล่นโดยวิเคราะณ์จากเหตุและผล
SQ หรือ ความฉลาดในการเข้าสังคม ในการเล่นหมากล้อมทำให้รู้จักผู้คนมากขึ้น รวมถึงแบ่งปันแนวคิดต่างๆซึ่งกันและกัน
CQ หรือ ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ การเล่นหมากล้อมเริ่มต้นจากกระดานที่ว่างเปล่า ผู้เล่นจะเดินหมากเพิ่มลงไปบนกระดาน จึงจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และจิตนาการตลอดการเล่นหมากล้อม
AQ หรือ ความฉลาดในการปรับตัว ในทุกตาเดินไม่สามารถเดาใจคู่ต่อสู้ได้ ทำให้ผู้เล่นต้องเรียนรู้การปรับตัวอยู่ตลอดเวลา