Gameschooling เล่นอย่างไรให้ได้เรียนรู้

ในปัจจุบันรูปแบบการเรียนการสอนถูกพัฒนาออกมาหลากหลายรูปแบบเพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็กในแต่ละด้านให้ดีมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้เราจะมารู้จักอีกหนึ่งรูปแบบการเรียนรู้ที่เรียกว่า “Gameschooling” คืออะไรและมีการเรียนรู้อย่างไรและทำไม Gameschooling ถึงควรเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับเด็กๆในปัจจุบัน

คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยได้ยินการเรียนรู้แบบ Homeschool หรือที่เราเรียกกันในภาษาไทยว่า “บ้านเรียน” คืออีกหนึ่งระบบการศึกษา ที่เด็ก ๆ จะเรียนอยู่ที่บ้าน โดยส่วนใหญ่จะมีคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้จัดการเรียนการสอน และออกแบบรูปแบบการศึกษาโดยเน้นที่ความสนใจของตัวเด็กเป็นสำคัญ 

Gameschooling เป็นอีกหนึ่งการเรียนรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเรียนการสอน แบบ Homeschool ได้เช่นเดียวกัน ในการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของเด็กๆ ในบางครอบครัวใช้เกมเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ตามหัวข้อที่เด็กๆสนใจหรือเป็นประโยชน์ในการเรียน นอกจากนี้ในบางครอบครัวใช้การเรียนรู้แบบ Gameschooling เป็นหลักในการเรียนได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ในปัจจุบันเกมมีความหลากหลายและครอบคลุมทั้งหัวข้อ อายุ และระดับทักษะที่หลากหลาย นอกจากเด็กจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะต่างๆ ยังได้รับความสนุกสนานในการเรียนรู้อีกด้วย

เด็กๆจะได้อะไรจากการเรียนรู้แบบ Gameschooling

  1. เกมสร้างความสนุก 

ทำไมทุกคนชอบการเล่นบอร์ดเกมหรือการ์ดเกม เพราะมันทำให้ทุกคนสนุกไปกับการเล่น และนั้นคือสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะแสดงให้เด็กๆเห็นว่าการเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องเครียดและน่าเบื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกๆได้ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

หากเด็กๆได้เรียนรู้สิ่งต่างๆแถมยังรู้สึกสนุกไปด้วยย่อมเป็นเรื่องดีสำหรับทุกคนแน่นอน

2. เกมช่วยเสริมสร้างทักษะ

เกมส่วนใหญ่ช่วยเสริมสร้างทักษะให้แก่เด็กๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เกมที่สร้างมาเพื่อฝึกทักษะทางคณิตศาตร์ ตั้งแต่การนับจนถึงเศษส่วนและการคูณ เกมที่ฝึกทักษะการออกเสียง อ้างอิงประวัติศาสตร์และอื่นๆ

เกมหลายเกมช่วยพัฒนาทักษะทางความคิด ทักษะการแก้ปัญหา การคิดอย่างเป็นระบบ หรือแม้แต่ทักษะการตัดสินใจ

3. ฝึกฝนทักษะทางสังคม Social Skills 

ไม่มีใครอยากเป็นผู้แพ้ และเกมสามารถช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้วิธีรับมือกับการแพ้และการชนะอย่างเหมาะสม

เด็กที่เล่นเกมบ่อยๆ จะเข้าใจว่าพวกเขาไม่สามารถชนะได้ตลอดเวลา แม้ว่าพวกเขาต้องการชนะก็ตาม ยิ่งเด็กมีโอกาสเล่นเกมมากเท่าไร พวกเขาก็ยิ่งเรียนรู้วิธีชนะและแพ้อย่างสง่างามมากขึ้นเท่านั้น

นอกจากนี้ Gameschooling ยังช่วยในด้านทักษะทางสังคมอื่นๆ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแนวความคิดที่สามารถปรับใช้ในการเติบโต) เช่น

  • การสื่อสาร
  • ความกล้าแสดงออก
  • ความร่วมมือ
  • การทำงานร่วมกัน (สำหรับเกมที่เล่นเป็นทีมหรือกลุ่ม)
  • ความอดทน
  • ความเข้าอกเข้าใจ
  • ความยืดหยุ่น

4. พัฒนาความคิดอย่างมีตรรกะ

ถ้าคุณพ่อคุณแม่เคยผ่านการเล่นเกมที่ต้องอาศัยตรรกะทางความคิดจะทราบว่าผู้เล่นนั้นจะต้องคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ว่าผู้เล่นคนอื่นจะทำอะไรต่อไป และพยายามเอาชนะพวกเขาอยากมีแบบแผน

เกมมักเสนอวิธีคิดที่แตกต่างให้เด็กๆ นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับฝึกทักษะการแก้ปัญหาอีกด้วย!

มาถึงจุดนี้คุณพ่อคุณแม่น่าจะพอมีไอเดียเกี่ยวกับประโยชนของการเล่นเกม แต่เราควรเริ่มต้นอย่างไรให้ Gameschooling มีประโยชน์กับเด็กๆมากที่สุด

เริ่มต้นอย่างไรกับ Gameschooling

  1. ตั้งเป้าหมาย

อันดับแรกผู้ปกครองต้องตั้งเป้าหมายของการเรียนรู้ให้แก่เด็กๆ ว่าอยากให้เด็กๆนั้นได้เรียนรู้เรื่องอะไรหรือทักษะอะไรจากการเล่นเกม เช่น 

  • ผู้ปกครองตั้งเป้าหมายให้เด็กๆฝึกเรื่องคณิตศาสตร์ เข้าใจคุณค่าของเงินและการใช้จ่าย สามารถใช้เกม Monopoly Jr 
  • เรียนรู้เรื่องของเศษส่วน และการแบ่งส่วน สามารถเล่นเกม Pizza Fractions Jr

2. จัดเวลาสำหรับเล่นเกม

การใช้ Gameschooling ในการสอนเด็กๆอาจใช้เวลาและการเตรียมอุปกรณ์มาก ผู้ปกครองสามารถเริ่มต้นจากการแบ่งเวลาในการเล่นเกม เช่นก่อนเริ่มเรียนหรือหลังเลิกเรียนในเวลาปกติ บ่ายวันอาทิตย์กับทุกคนในครอบครัว การจัดสรรเวลาจะทำให้ง่ายต่อการวางแผนหัวข้อและเรื่องที่เด็กจะได้เรียนรู้

3. ใช้เกมในการเริ่มต้นหัวข้อในการเรียน

การใช้เกมเพื่อนำเสนอหัวข้อใหม่ๆในการเรียนจะทำให้เด็กๆตื่นเต้น สนุกสนานและอยากที่จะเรียนรู้มากยิ่งขึ้น เช่นการเล่นเกมเกี่ยวกับการวางแผนยึกครองพื้นที่ ก่อนที่จะเริ่มเรียนในหัวข้อประวัติศาสตร์ เป็นต้น

หมากล้อมกับ Gameschooling

ทำไมหมากล้อมจึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการเป็นส่วนหนึ่งของ Gameschooling?

ในการเล่นหมากล้อมนั้นเด็กๆจะได้ฝึกฝนทักษะทางความคิดในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ การคิดล่วงหน้า เหตุและผล และการวางแผนและมีความตระหนักที่มาพร้อมกับกลยุทธ์การเรียนรู้

นอกจากนี้หมากล้อมยังช่วยพัฒนาความจำและทักษะการอ่านเนื่องจากเด็กๆได้ฝึกฝนการจำรูปแบบหมาก และเข้าในของหมากที่เกินขึ้นบนกระดาน

หมากล้อมนั้นมีกติกาการเล่นที่ไม่ซับซ้อน ทำให้เด็กๆเข้าใจและสามารถเล่นได้อย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุผลนี้หมากล้อมจึงเป็นอีกตัวเลือกที่ดีในการใช้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้แบบ Gameschooling

ทดลองเรียนหมากล้อมฟรี https://go2.in.th/trial/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *