บทเรียนที่ 1 
เล่นที่มุมและข้าง

รูป 1 

เริ่มจากมุม

กระดานโกะ 19×9 มีขนาดใหญ่

สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

มุม ข้าง กลาง

รูป 2

สามารถเรียกแยกส่วนย่อยได้อีกตามรูป 2

การเปิดเกมจะเริ่มเล่นที่มุมก่อน

สามารถจำได้ง่ายๆให้เล่น “มุม ข้าง กลาง”
ไปตามลำดับ

เหตุผลที่ควรเริ่มเล่นที่มุมก่อน เป็นเพราะว่า
ถ้าเลือกล้อมพื้นที่ให้ได้คะแนนเท่ากัน

การล้อมตรงกลางต้องใช้หมากมากที่สุด
รองลงมาเป็นด้านข้าง
การล้อมที่มุมจะใช้หมากน้อยที่สุด

ดังนั้นการเลือกเล่นตาม ” มุม ข้าง กลาง”
จึงเป็นวิธีเล่นที่มีประสิทธิภาพที่สุด

รูป 3

การล้อมพื้นที่ 9 คะแนนในมุม
ใช้แค่เพียง 6 หมาก

รูป 4

การล้อมพื้นที่ 9 คะแนนที่ด้านข้าง
ต้องใช้ 9 หมาก

รูป 5

การล้อมพื้นที่ 9 คะแนนตรงกลาง
ต้องใช้ถึง 12 หมาก

รูป 6

ดำ 1 วางที่จุดกลางกระดาน
ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “Tengen”

ความน่าสนใจของเกมโกะ คือ
เรามีอิสระในการเลือกเล่นได้ตามที่เราชอบ

เราสามารถเลือกเล่นหมากแรกที่จุด Tengen ได้
อันที่จริง มีเกมการแข่งของระดับมืออาชีพ
หลายกระดานที่เลือกเปิด Tengen อย่างไรก็ตาม

นี่ไม่ใช่ตาเดินที่เหมาะสมในการสร้างพื้นที่

กลยุทธ์ คือ เปิดเกมโดยเริ่มเล่นที่เส้น 3 และเส้น 4

รูป 7

การเปิดเกมที่ดีเล่นที่เส้น 3 และเส้น 4

เส้น 3 นับขึ้นจากขอบกระดานทุกด้านได้ 3 เส้น
เส้น 4 นับขึ้นจากขอบกระดานทุกด้านได้ 4 เส้น

เรามาทำความเข้าใจเหตุผลที่เส้น 3 และ เส้น 4
ดีกว่าการเล่นเส้นอื่นในช่วงเปิดเกม

รูป 8

ดำทั้งสองหมากอยู่ที่เส้น 3
ล้อมมุมอย่างแข็งแรง
ทำให้ดำใกล้จะครองมุมนี้ได้สำเร็จ

 

รูป 9

ถ้าขาวจะแย่งมุมนี้
ก็มีทางแค่บุกเข้าไปด้านใน

แต่ก็ไม่ได้ผล เนื่องจากรอดไม่ได้
และหนีออกมาไม่ได้

รูป 10

หมากดำรูปร่างเหมือน รูป 8
แต่อยู่บนเส้น 5
จะเห็นได้ว่ามุมมีพื้นที่กว้างมาก
ยากที่ดำจะล้อมมุมเอาไว้ได้

รูป 11

หากขาวเล่นแบบเดียวกับ รูป 8
มุมจะกลายเป็นของขาวอย่างรวดเร็ว

รูป 12

ลองทำรูปร่างแบบเดียวกันกับ รูป 8
โดยใช้เส้นสอง จะเป็นอย่างไร

ก็จริงอยู่ที่มุมจะเป็นของดำ แต่พื้นที่เล็กมาก
นี่ไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพในการล้อมพื้นที่

จากทั้งหมดนี้ เส้นที่ 3 และ 4 แสดงถึงพื้นที่
จะเห็นได้ว่าเส้นนี้เหมาะสมที่สุดสำหรับการปิดล้อม
จนกระทั่งหมากเริ่มเชื่อมกันหรือเริ่มตั้งกลุ่ม
พยายามรักษาเส้นที่ 3 และเส้นที่ 4 ไว้ในใจ
ในขณะที่คุณดำเนินการแผนของคุณ

ความต่างระหว่างเส้นที่ 3 และเส้นที่ 4 คือ

เส้นที่ 3 ใกล้ขอบกระดาน
ทำให้ง่ายต่อการล้อมพื้นที่

เส้นที่ 4 อยู่ใกล้กลางกระดาน
ทำให้ได้เปรียบในการต่อสู้

จุด 4-4(ดาว) และจุด 4-3

รูป 13

เมื่อเล่นที่มุม โดยทั่วไปมีสองวิธีในการเล่น
ดำ 1 ในรูป 13 เป็นหมากที่เรียกว่า “ดาว”
มีเครื่องหมายบนกระดานด้วย
จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าใจ

รูป 14

ดำ 1 ที่เคลื่อนจากจุดดาวไปยังเส้นถัดไป
เรียกว่า “จุด 4-3”
เนื่องจากมีด้านอยู่ที่เส้น 3 เป็นจุดที่เน้นพื้นที่

ยังมี “จุด 4-3” อีกจุดอยู่ในมุม
แต่คุณรู้ไหมว่ามันอยู่ที่ไหน?

รูป 15

ยังเป็นจุด 4-3
อยู่ที่เส้น 3 นับจากเส้นด้านบน

รูป 16

ดำ 1 ดูเหมือนจุด 3-4 แต่ไม่ใช่
หากนับจากเส้นด้านบนคือเส้นที่ 5

หมากนี้อยู่ใกล้กลางกระดานมากกว่าจุด 4-3
ดังนั้นจึงเรียกว่า “จุด 5-3”

ในทำนองเดียวกัน
A คือ “จุด 5-3” เหมือนกัน

รูป 17

เป็นมารยาทที่ดี
ที่ดำหมากแรกจะวางจากมุมขวาบน
จากนั้นหมากที่สอง ไม่สำคัญว่าจะเล่นจากมุมไหน