ปัญหาที่ 6
[ตาขาวเล่น]
“การแยกด้านข้าง”
ระหว่าง A หรือ B คือจุดไหน?
ฝั่งที่มีหมากของตัวเองอยู่แล้ว เช่นจากขาว △
เราจะเรียกว่า “การขยายหมาก”
การล้อมมุม
วิธีการวางหมากต่อออกจากหมากแรกในมุม
เพื่อป้องกันมุม ไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามเข้ามา
เรียกว่า “การล้อมมุม”
รูป 1
ดำ 1 คือ “ล้อมมุม” แม้ว่าจะแคบกว่าการขยาย
แต่ประตูบ้านก็ปิด เพื่อให้แน่ใจว่ามุมจะปิด
อย่างมั่นคง
ขาวยากที่จะเข้าไปตามทิศทางของลูกศร
รูป 2
ดำ 1 ก็เป็นการล้อมมุมเช่นกัน ประตูล็อคหลวมกว่า
ในรูป 1 แต่อยู่ใกล้กลางกระดานมากขึ้น ทำให้
ได้เปรียบในการต่อสู้
รูป 3
ดำ 1 ก็เป็นการล้อมมุม
รูป 4
ดำ 1 อยู่ที่เส้น 5 ทำให้ประตูยังเปิด
ดังนั้น ขาว 2 จึงเข้ามาได้
เส้นที่ 5 ไม่เหมาะสำหรับการล้อมมุม
รูป 5
ล้อมมุมจากจุด 4-3 ด้วยดำ 1
ประตูในมุมล็อคอย่างแน่นหนาทำให้ขาวเข้า
ได้ยากจากทิศทางทั้งลูกศรซ้ายและลูกศรล่าง
การล้อมมุมนี้ถูกเรียกว่า “มุมไร้กังวล”
รูป 6
ดำ 1 เป็นรูปร่างตาม้าเหมือนกัน
แต่ในกรณีจุด 4-3 จะไม่ล้อมมุมทางด้านนี้
สิ่งสำคัญคือ ต้องปิดประตูตามทิศทางลูกศร
รูป 7
ดำ 1 ก็เป็นการล้อมมุม
เช่นเดียวกับจุด 4-4 การล้อมรูปนี้อ่อนแอต่อ
การปิดประตูบ้าน แต่ช่วยในการต่อสู้ตรงกลาง
รูป 8
เช่นเดียวกับจุด 4-4 ดำ 1 อยู่ที่เส้น 5
จึงไม่ช่วยล้อมมุม จะมีหมากที่เข้ามาได้
อย่างเช่นขาว 2
ปัญหาที่ 7
[ตาดำเล่น]
ดำเล่น “ล้อมมุม”
ระหว่าง A หรือ B คือจุดไหน?
ปัญหาที่ 8
[ตาขาวเล่น]
ขาวเล่น “ล้อมมุม”
ระหว่าง A หรือ B คือจุดไหน?
เน้นการต่อสู้ตรงกลางกระดาน
ปัญหาที่ 9
[ตาดำเล่น]
การเล่นล้อมมุมจากจุด 4-3
ระหว่าง A หรือ B คือจุดไหน?
ปิดมุมได้อย่างปลอดภัย
ปัญหาที่ 10
[ตาขาวเล่น]
A : ล้อมมุมจากจุด 4-3
B : ล้อมมุมจากจุด 4-4
ในกรณีนี้ควรจัดลำดับความสำคัญ เล่นที่จุดอะไรก่อน?
ให้ความสำคัญกับจุด 4-3 ก่อน
รูป 1
รูป 2
รูป 1
การล้อมมุมที่จุด 4-3
ทางเข้ามามีเพียงสองเส้นเท่านั้น
รูป 2